อาหารกับทันตสุขภาพ
อาหารจำพวกน้ำอัดลม ผลไม้เปรี้ยว
ผล ไม้เปรี้ยวมีความเป็นกรดมากภายหลังกินจะรู้สึก เข็ดฟันและเสียวฟัน เพราะกรดจะไปละลายผิว เคลือบฟัน ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยง และไม่ควรกินบ่อยจนเกินไป ภายหลังกินอาหารเหล่านี้ควรบ้วนน้ำแรงๆ หรือถ้าแปรงฟันได้ก็จะดีเพื่อเป็นการชะล้างเอากรดออก
อาหารหวาน เหนียว ทำให้ฟันผุ
อาหารหวาน และเหนียว เช่น ทอฟฟี่ คุกกี้ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม ขนมหวานต่างๆจะมีส่วนประกอบของแป้ง และน้ำตาลสูงทำให้เกิด โรคฟันผุ ได้ง่ายเพราะเชื้อโรคในช่องปากจะเปลี่ยนน้ำตาลที่ตกค้างอยู่ตามหลุมร่องฟันให้กลายเป็นกรดซึ่งจะไปทำลายฟันทำให้ฟันผุ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารเหล่านี้หรือไม่กินบ่อยๆ และควรแปรงฟันทันทีภายหลังกินอาหารหวานและเหนียว
น้ำอัดลมกับพฤติกรรมวัยรุ่น
เด็ก ไทยกำลังกินอาหารอย่างไม่สมดุล กินขนมมากถึง 1 ใน 4 ของอาหารที่กินในแต่ละวันโดยน้ำหวาน น้ำอัดลมจัดอยู่ในกลุ่มของขนมที่เด็กโปรดปรานมากที่สุด น้ำอัดลมจัดเป็นช่องทางหนึ่งที่นำน้ำตาลปริมาณมากมาสู่เด็ก และทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ
จ่ายค่าพลังงานสูงเกินควร
จุด ประสงค์การดื่มน้ำอัดลมเพื่อให้ได้พลังงานและความสดชื่นจากน้ำตาลเมื่อดื่ม น้ำอัดลม 1 กระป๋อง ขนาดบรรจุกระป๋องละ 325 มิลลิลิตร จ่ายเงินประมาณ 10-15 บาท ได้รับน้ำตาลประมาณ 32-45 กรัม หรือราว 8-11 ช้อนชา โดยน้ำอัดลมมีน้ำตาลผสมอยู่ประมาณ ร้อยละ 10-14 ซึ่งเป็นการจ่ายค่าน้ำตาลไม่ถึง 1 ขีด (100 กรัม) ในน้ำอัดลมมีค่าเทียบเท่ากันราคาน้ำตาล 1 กิโลกรัมทีเดียว
ความสดชื่นเพียงชั่วครู่จากน้ำอัดลม
น้ำตาล ในน้ำอัดลมถูกดูดซึมให้เซลล์เผาผลาญเกิดพลังงานเร็ว และหมดลงอย่างรวดเร็วเช่นกันร่างกายจึงสดชื่นเร็ว และอ่อนเพลียอย่างรวดเร็วเช่นกัน เพราะน้ำตาลปริมาณมากกระตุ้นให้หลั่งอินซิลินออกมามากและน้ำตาลเข้าเซลล์ อย่างรีบด่วน การดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋อง ขนาดบรรจุ 325 มิลลิลิตร ให้พลังงาน ประมาณ 130-182 กิโลแคลอรี่ ร่ายกายจึงรู้สึกสดชื่นมีเรี่ยวแรงอย่างมากมายเกือบจะทันที
เมื่ออินซูลินหลั่งออกมามากทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระตุ้นให้ร่างกายต้องหลั่งสาร Anti-insulin hormones ออกมา เพื่อหยุดยั้งการหลั่งอินซูลิน ทำให้รู้สึกกระสับกระส่าย ไม่อยู่นิ่ง ชีพจรเต้นเร็ว
มีพฤติกรรมการกินไม่สมดุล
ปัจจุบัน พบว่าเด็กและวันรุ่นบริโภคอาหารไม่ไ้ด้สัดส่วนอาหาร 5 หมู่ ตามธงโภชนาการการศึกษาในต่างประเทศพบว่า เด็กละตินชอบกินน้ำผลไม้มากกว่าผลไม่สด เด็ก Mexican นักเรียนชั้น ป.5 มากว่าร้อยละ 92 กินเครื่องดื่ม 1 ขนาดบรรจุทุกวัน (1 soft drink /day)
ฟฤติ กรรมการกินของเด็กวัยรุ่นมักงดอาหารเช้า และมักเลือกรับประทานอาหารที่มีรสหวานหรืออาหารที่มีไขมันและแป้งสูง เพราะเป็นอาหารที่ถูกใจ สะดวกและรวดเร็ว แต่มักมีคุณค่าทางอาหารน้อย เช่น อาหาร fast food และน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
พฤติกรรม การดูโทรทัศน์มากขึ้น ข้อมูลจากชมรมคนรักฟัน พบว่า เด็กไทยดูโทรทัศน์เฉลี่ย 3-5 ชั่งโมงต่อวัน ซึ่งมีผลให้เด็กกินของกินเล่นที่ไม่ไขมันสูง ขนมหวานและเค็ม น้ำหวาน น้ำอัดลมมากขึ้น แต่กินผักและผลไม่ลดลง
เกิดปัญหาตามมา
โรคอ้วน
เนื่อง จากน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลมากอยู่แล้ว และเด็กมักไม่ได้ลดการกินอาหารอื่นลงบางครั้งจะดื่มน้ำอัดลมร่วมกับการกิน ขนม ที่มีทั้งแป้ง น้ำตาล และไขมัน จากการศึกษาในปี 2546 พบว่า เด็กไทยอายุ 6-15 ปี ได้รับอาหารที่ให้พลังงานมากถึงร้อยละ 23 สูงกว่ามาตาฐานที่กำหนดไว้เป็นร้อยละ 10 ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป และเป็นโรคอ้วนจนโตเป็นผู้ใหญ่ได้ และมีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การขาดสารอาหาร
ขาด สารอาหารที่จะเป็นต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม สังกะสี ธาตุเหล็ก และวิตามินต่างๆ จากการศึกษาในต่างประเทศ เด็กอายุ 6-13 ปี ที่ดื่มน้ำหวานในปริมาณมากกว่า 12 ออนซ์ต่อวัน จะดื่มนมลดลง มีส่วนทำให้เกิดการทำลายกระดูก (boneresorption) เนื่องจากมี phosphoric acid ทำให้ฟันผุและเหงือกอักเสบ โดยเฉพาะในรายที่กินหลายครั้งในแต่ละวัน
ข้อมูลอ้างอิง
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัย : รายงานเบื้องต้นผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก 3-5 ปี
พญ. สุรีย์ เชื้อสุวรรณชัย และ พญ. ศิริลักษณ์ เจนนุวัตร เด็กไทยไม่กินหวานกับการบริโภคอาหารเครื่องดื่มที่มีรสหวานในเด็กและวัยรุ่น
น้ำหวานและน้ำอัดลมทำให้เด็กฟันผุไหม
น้ำ หวานและน้ำอัดลมมีส่วนผสมของน้ำตาลกลูโครส หรือน้ำตาลทรายในปริมาณที่สูงมาก เช่น น้ำอัดลม 1 ขวดเล็ก มีน้ำตาลผสมประมาณร้อยละ 10.5 หรือราว 30 กรัม ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์นำไปใช้ผลิตกรดได้มาก จึงมีผลให้เด็กฟันผุอีกทั้งน้ำอัดลมยังมีความเป็นกรดสูง ทำให้เคลือบฟันละลายตัวจึงเสริมให้ฟันผุได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้เด็กจะได้รับน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินควรซึ่งจะทำให้เด็กเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตา
|